พื้นฐานก่อนศึกษา Recompose สำหรับ React
March 2, 2022 (2y ago) — 53 views
ถ้าคุณเป็นผู้มากประสบการณ์ในการเขียนโค้ด คงเคยประสบปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง คือการอ่านโค้ดคนอื่นหรือแม้แต่ของตัวเองเพื่อทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มเขียนเพิ่มหรือแก้ไขการทำงานของโค้ดนั้นๆ
มีนักวิจัยที่วิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บอกไว้ว่า “โปรแกรมเมอร์ใช้เวลา 70% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนโค้ดไปกับการอ่านโค้ดเพื่อทำเข้าใจมัน และค่าเฉลี่ยในการเขียนโค้ดของโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกเพียง 5 บรรทัดต่อวันเท่านั้น” — Functional-Light JavaScript นั่นคือเราใช้เวลาเกือบทั้งวันในการอ่านโค้ดเพื่อให้ได้โค้ดเพียง 5 บรรทัด
ถ้าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโค้ดที่มันเข้าใจยากหรือแก้ไขยากอาจจะโดนพูดถึงนิดๆ(หรือด่า) จากคนที่มาเขียนต่อจากคุณได้ ดังนั้นการจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดี คุณควรจะใส่ใจในการเขียนโค้ดแต่ละตัวอักษรที่เขียนขึ้นมาให้มันมีคุณสมบัติที่ อ่านง่าน (Readability) เข้าใจง่าย (Understandable) และแก้ไขง่าย (Maintainable)
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องพื้นฐานหลักๆ ก่อนศึกษา Recompose ได้แก่ Function Composition และ Higher-order Component (HoC) เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจเรื่อง Recompose และทุกๆ ตัวอย่างในบทความนี้ก็จะพยายามเปรียบเทียบให้เห็นว่าเขียนแบบไหนทำให้โค้ด อ่านยาก เข้าใจยาก แก้ไขยาก แล้วจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร
Function Composition คือ?
Function Composition คือการนำเอาฟังก์ชันสองฟังก์ชันหรือมากกว่า มาประกอบ (Compose) กันเพื่อให้ได้ฟังก์ชันใหม่ออกมา
ถ้านึกไม่ออกเดี๋ยวจะลองยกตัวอย่างโรงงานทำลูกอมไปพร้อมๆ กับยกตัวอย่างโดยใช้โค้ดในการอธิบายด้วย โดยที่โรงงานทำลูกอมมีกระบวนการการทำงานดังนี้
- กระบวนการทำความเย็นช็อกโกแลตและอัดก้อนด้วย เครื่องทำความเย็น : ช็อกโกแลตเหลว → ช็อกโกแลตที่ผ่านการทำความเย็นและอัดก้อน
- กระบวนการตัดช็อกโกแลตด้วย เครื่องตัดช็อกโกแลต : ช็อกโกแลตที่ผ่านการทำความเย็นและอัดก้อน → ช็อกโกแลตก้อน
- กระบวนการห่อช็อกโกแลตด้วย เครื่องห่อกระดาษ : ช็อกโกแลตก้อน → ช็อกโกแลตพร้อมจำหน่าย
Functional-Light JavaScript
จะเห็นได้ว่าในแต่ละกระบวนการก็ต้องการ Input ที่เป็น Output ของกระบวนการก่อนหน้าเสมอ
ต่อไปลองมาดูตัวอย่างโค้ดบ้างนะครับ มีฟังก์ชันอยู่สองฟังก์ชันคือ calculateMean
และ toNumbers
สมมุติมี Requirement ว่าให้หาค่าเฉลี่ยจากอาเรย์ของตัวเลขรูปแบบข้อมูลดังนี้ const numbers = [1, 2, 3, 4, 5];
ก็ไม่ยากใช่ไหมไหมครับเพียงแค่เรียกใช้ฟังก์ชัน calculateMean
แต่ถ้าอาเรย์ของตัวเลขรูปแบบข้อมูลแบบนี้ const numbers = ['1', '2', '3', '4', '5'];
เราก็ต้องใช้ฟังก์ชัน toNumbers
เพื่อทำให้ตัวเลขพวกนั้นใช้ได้กับฟังก์ชัน calculateMean
สิ่งที่เหมือนกันกับโรงงานทำลูกอมก็คือ Input ของฟังก์ชันเป็น Output ของอีกฟังก์ชัน เช่นกันกับแต่ละกระบวนการก็ต้องการ Input ที่เป็น Output ของกระบวนการก่อนหน้า และแต่ละ Output ที่ออกมาถูกลำเลียงผ่านสายพานเพื่อเป็น Input ให้อีกกระบวนการ เช่นกันกับ Output ของฟังก์ชันก็ถูกลำเลียงผ่านตัวแปร convertedNumbers
แทนที่จะเป็นสายพาน
ต่อมาโรงงานทำลูกอมมีนโยบายอยากประหยัดค่าใช้จ่ายและลดพื้นที่ โดยนำเอาเครื่องแต่ละเครื่องมาวางเรียงต่อกันเป็นแนวตั้งโดยเอาเครื่องที่ต้องทำงานก่อนไว้ข้างบนสุดเพื่อ Output ออกมาจากเครื่องนั้นๆ เป็น Input ของอีกเครื่องเลยโดยไม่จำเป็นต้องลำเลียงผ่านสายพาน
Functional-Light JavaScript
ถ้าเอามาเปรียบโค้ดกับโรงงานทำลูกอมตอนนี้แล้วโค้ดของก็จะมีหน้าตาแบบนี้ครับ
ตัวแปร convertedNumbers
ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพียงใช้ Output จาก toNumbers(numbers)
ไปเป็น Argument ของฟังชัน calculateMean
เลย
วันหนึ่งโรงงานนี้ได้สร้างกล่องใส่เครื่องที่ใช้ทำลูกอมทั้งสามจุดประสงค์เพื่อให้ดูสะอาดตาและดูแลง่าย กล่องนี้มีหน้าที่เพียงรับช็อกโกแลตเหลวจากด้านบนของกล่องและส่งช็อกโกแลตที่พร้อมจำหน่ายด้านล่างของกล่อง
Functional-Light JavaScript
กลับมาที่โค้ดเพื่อให้ได้โค้ดหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้ในหลายๆ ที่ของแอปฯ ก็ควรจะห่อมันด้วยฟังก์ชัน แบบนี้
ดูที่ฟังก์ชัน calculateMeanByNumbers
ทำการประกอบ (Compose) ฟังก์ชัน toNumbers
และ calculateMean
เข้าด้วยกัน มีการทำงานจากขวาไปช้ายดังนี้
mean <-- calculateMean <-- toNumbers <-- numbers
มาถึงจุดนี้คุณคงจะเข้าใจ Compose ไม่มากก็น้อยแล้วนะครับ จากฟังก์ชัน calculateMeanByNumbers
จะทำให้มันอ่านง่ายกว่าเดิมโดยใช้ฟังก์ชัน compose
จากโค้ด const calculateMeanByNumbers = compose(calculateMean, toNumbers)
มันจะแปลงเป็นฟังก์ชันได้แบบนี้ครับ
ต่อไปจะทำการปรับฟังก์ชัน compose
ใหม่ในกรณีที่ต้องการ Compose กันมากกว่า 2 ฟังก์ชัน ถ้าใช้ฟังก์ชัน compose
อันเก่าแล้วต้องการ Compose กัน 3 ฟังก์ชันจะทำได้แบบนี้ครับ
ส่วนการทำงานเหมือนเดิมครับ คือจะไล่จากขวาไปซ้าย ส่วนฟังก์ชัน compose
ที่จะปรับเป็นแบบนี้ครับ
compose
ตอนนี้เป็นฟังก์ชันที่รับอาเรย์ของฟังก์ชันมาวนลูปเพื่อ Call แต่ละฟังก์ชันในอาเรย์นั้นครับ ที่ใช้ reduceRight
เพราะต้องการให้ Call จากขวาไปซ้าย เช่น compose(fn3, fn2, fn1)('value')
รอบการทำงานจะเป็นแบบนี้ครับ
วิธีการใช้ก็เอาฟังก์ชันที่ต้องการมาใส่เป็น Argument กี่ฟังก์ชันก็ได้แบบนี้
ตอนนี้โค้ดที่เขียนขึ้นมาจะอ่านง่ายมากขึ้น เพื่อเป็นการทำให้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของเรื่อง Compose ให้มากขึ้นอีก ผมจะยกตัวอย่างโค้ดชุดหนึ่งขึ้นมานะครับ ซึ่งโค้ดนี้มีหน้าที่คือ
- แยกคำจากค่าที่ส่งเข้ามาด้วยเว้นวรรค ให้เป็นอาเรย์ของคำ
- ลบอักษรพิเศษออกจากคำ
- ทำให้เป็น Lower Case
- ต่อคำแต่ละคำด้วยขีด (-)
ซึ่งเป็นโค้ดในการทำ Slug นั้นเองครับ เช่น ใส่ค่า What is Function Composition?
ผลลัพธ์ที่ได้ควรจะได้ what-is-function-composition
ต่อไปผมจะทำให้ฟังก์ชัน toSlug
อันนี้ให้อ่านง่ายกว่าเดิมโดยใช้ compose
เมื่อใช้ compose
โค้ดก็จะอ่านและแก้ไขได้ง่ายมากครับ เช่น หากไม่อยากลบตัวอักษรพิเศษแล้วก็เพียงแค่ลบ map(removeSpecialChar)
ออก ส่วนการทำงานของฟังก์ชัน toSlug
ก็จะไล่จากขวาไปช้าย สมมุติมีการส่งค่า x
มาในฟังก์ชันมันก็จะทำงานตามนี้
พวกฟังก์ชัน split map join compose เราไม่จำเป็นต้องเขียนเองนะครับสามารถใช้จากไลบรารี่ต่างๆ ได้เลย เช่น Ramda หรือ lodash/fp
HoC คือ?
มันคือฟังก์ชันธรรมดาๆ ที่รับ Component เป็น Parameter และรีเทิร์น Component ใหม่ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นออกไป
ลองจินตนาการแอปฯ ของเรามีหลายๆ Component แล้วบาง Component ต้องทำหน้าที่อะไรบางอย่างเหมือนกัน วิธีแก้ปัญหา คือแยกการทำงานนั้นออกให้เป็นฟังก์ชันและ export
มันออกไปเพื่อให้ Component อื่น import
มาใช้งานได้ง่ายๆ เมื่อการทำงานนั้นมี Change ก็แก้เพียงที่เดียว HoC ก็คล้ายๆกันครับ มันไม่ใช่ฟีเจอร์หรืออะไรใหม่ของ React เลย มันมีมาเพื่อใช้แก้ปัญหานี้นั้นเอง
ลองดูที่ Component นี้นะครับ
ที่อยากจะให้สังเกตคือ State ใน Component มีอยู่สองค่าคือ count
กับ text
ปัญหาก็คือทุกๆ State ที่ถูกกำหนด ต้องมีการสร้างฟังก์ชันเพื่อที่จะต้องมาอัปเดตเสมอ ในที่นี้ก็จะมี incrementCount
และ onTextChange
และสองฟังก์ชันนี้ยังต้อง .bind(this)
อีก ต่อไปผมจะยกตัวอย่างการสร้าง HoC เพื่อมาใช้แก้ปัญหานี้โดยมีคอนเซ็ปต์คือมันจะต้องเป็นฟังก์ชันที่รับ ชื่อของ State ชื่อที่ไว้ใช้อัปเดต State และค่าเริ่มต้นของ State และรีเทิร์น HoC ออกไป
เมื่อเรามี withState
เวลาเราเขียน Component ก็ Import withState
เข้ามาพร้อมกับเรียกใช้แบบนี้ withState('count', 'updateCount', 0)(BaseComponent)
แล้ว BaseComponent
ก็จะมี props
คือ count
และ updateCount
สำหรับใช้อัปเดต
จะเห็นได้ว่า Component ดูสะอาดตา อ่านง่ายๆ ไม่มี class
ไม่มี this
ไม่มี .bind(this)
แต่…. ยังไม่พอครับ ที่บรรทัด 19 - 23 มีการเรียกฟังก์ชัน withState
ซ้อนกันอยู่ เดี๋ยวเราจะนำ Compose ที่พูดถึงกันมาก่อนหน้านี้ทำให้การใช้ HoC อ่านง่ายขึ้น
Compose ที่ใช้กับฟังก์ชัน คือการนำเอาฟังก์ชันสองฟังก์ชันหรือมากกว่า มาประกอบ (Compose) กันเพื่อให้ได้ฟังก์ชันใหม่ออกมา
ดังนั้น Compose ที่ใช้กับ HoC คือการนำเอา HoC สอง HoC หรือมากกว่า มาประกอบ (Compose) กันเพื่อให้ได้ HoC ใหม่ออกมานั่นเอง
ต่อไปจะยกตัวอย่างสร้าง HoC อีกสักหนึ่งตัวนะครับ เพื่อใช้สำหรับแก้ไข Props โดยผมอยากทำให้ FooComponent เพิ่ม Prop สำหรับลบเพิ่มค่า Count และเพิ่ม Prop onTextChange
สำหรับอัปเดต text
และ FooComponent
เขียนใหม่ได้แบบนี้ครับ
มาถึงจุดนี้ก็คงพอจะเข้าใจการทำ HoC ไม่มากก็น้อยนะครับ ผมคิดว่ามันค่อนข้างมีประโยชน์มากๆ นอกจากอ่านโค้ดง่าย ยังช่วยให้ไม่ต้องเอา UI ผูกติดกับ Logic
Recompose คือ?
2022 Updated! ใช้ React Hooks เหอะ
มันคือไลบรารี่ที่รวบรวม HoC ที่ช่วยให้เราแยก UI กับ Logic ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น withState
หรือ mapProps
สามารถ Import เข้ามาจาก Recompose ได้เลย
ตัวอย่าง FooComponent
ที่ใช้ Recompose
ข้อเสียของ Recompose ที่ผมเห็น คือตอน Debug ด้วย React Developer Tools มันจะถูก Stack หลายๆชั้นตาม HoC ที่เราใช้ ทำให้หา BaseComponent ยากหน่อยเวลาต้องการ Debug
HoC อื่นๆ ของ Recompose ตามไปอ่านได้ที่นี่ได้เลยครับ มี HoC มากมายที่จะช่วยให้โค้ดของคุณ สวยงามขึ้นได้แน่นอน